หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558)
|
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
|
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
|
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
|
คณะตำรวจศาสตร์
|
ชื่อหลักสูตร
|
|
ภาษาไทย
|
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย
|
ภาษาอังกฤษ
|
Master of Public
AdministrationProgram in Security Management
|
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
|
|
ชื่อเต็ม
(ไทย)
|
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความปลอดภัย)
|
ชื่อย่อ
(ไทย)
|
รป.ม.
(การจัดการความปลอดภัย)
|
ชื่อเต็ม
(อังกฤษ)
|
Master of Public
Administration (Security Management)
|
ชื่อย่อ
(อังกฤษ)
|
M.P.A. (Security
Management)
|
วิชาเอก
|
ไม่มี
|
จำนวนหน่วยกิตที่เรียน
ตลอดหลักสูตร
|
ไม่น้อยกว่า
42 หน่วยกิต
|
รูปแบบของหลักสูตร
|
หลักสูตรระดับปริญญาโท
หลักสูตร 2 ปี
|
ภาษาที่ใช้
|
ภาษาไทย
และ ภาษาอังกฤษ
|
คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา
|
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า ทั้งชาวไทยหรือต่างชาติสามารถ
ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
|
สถานภาพของหลักสูตร
|
- เป็นหลักสูตรใหม่
พ.ศ. 2558
- ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองวิชาการ
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในการประชุม เมื่อวันที่ 27
ตุลาคม 2557
- ได้รับอนุมัติจากสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ในการประชุม
ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557
- ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558
- ผ่านการรับรองคุณวุฒิ
จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ.)เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้
หลังสำเร็จการศึกษา
|
- ข้าราชการพลเรือน
- พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ข้าราชการทหาร ตำรวจ
- อาจารย์ นักวิจัย
นักวิชาการ
- นักการเมือง
- นักธุรกิจ
- ธุรกิจส่วนตัว
|
สถานที่จัดการเรียนการสอน
|
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
๙๐ หมู่ ๗ ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
|
การบริหารการจัดการ
|
บริหารจัดการโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
โดยคำแนะนำของคณบดี
คณะตำรวจศาสตร์
ร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวางแนวทางการดำเนินการ
ให้กับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนและคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง
ด้านเนื้อหาสาระ
การจัดการเรียนการสอนและความสอดคล้องกับมาตรฐาน
ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
|
ข้อมูลเฉพาะหลักสูตร
|
|
|
ปรัชญา
ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
ปรัชญา
|
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย
เป็นหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ(Multidisciplinary)
ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการความปลอดภัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งระบบการควบคุม
สภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์การและสังคม
|
ความสำคัญ
|
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน์
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม
การสื่อสารและเทคโนโลยี ฯลฯ
ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบด้านความปลอดภัยจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง
สำหรับสถาบันการศึกษา
ที่ต้องเตรียมการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง
ๆ ผนวกกับการบูรณาการในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการความปลอดภัย
เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชนในสังคม
คณะตำรวจศาสตร์
โรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งมีประสบการณ์ด้านการผลิตบุคลากรทางด้านการ
บังคับใช้กฎหมาย
และดูแลความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้แก่ภาครัฐ และเอกชนมา
เป็นเวลากว่า ๑๐๐
ปีได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการ
ความปลอดภัย
เพื่อผลิตบุคลากรรองรับกับปัญหาดังกล่าว
|
วัตถุประสงค์
|
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิต
ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย ที่มีคุณลักษณะ
ดังต่อไปนี้
- มีความรู้
ความสามารถ ในการประยุกต์และบูรณาการองค์ความรู้ทางด้าน
รัฐประศาสนศาสตร์
สามารถแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถแสดงออกอย่าง
เป็นอิสระในการจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้
- รู้จักประยุกต์ใช้ดุลยพินิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมอันเหมาะสมในการดำเนินการ
เกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยที่นับวันจะมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
- มีจิตสำนึกที่จะดำเนินการจัดการองค์การ
ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
และมีความเข้าใจในปัญหาสังคมในโลกปัจจุบันได้อย่างแท้จริง
- มีความรับผิดชอบในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และมีภาวะผู้นำ
ในการให้โอกาสและสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
|
|
ระบบการจัดการการศึกษา
|
ระบบการศึกษาในหลักสูตร
|
การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค
โดย ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาค
ประกอบด้วย :
ภาคการศึกษาที่ ๑ และ ภาคการศึกษาที่ ๒ แต่ละภาคการศึกษา
มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า
๑๕ สัปดาห์
|
ระบบการศึกษาภาคฤดูร้อน
|
การจัดการศึกษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
|
การเทียบเคียงหน่วยกิต
ในระบบทวิภาค
|
ไม่มี
|
|
การดำเนินการหลักสูตร (วัน
- เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน)
|
ภาคการศึกษาที่
๑
|
เดือนสิงหาคม
– พฤศจิกายน
|
ภาคการศึกษาที่
๒
|
เดือนมกราคม
– เมษายน
|
จัดการเรียนการสอน
|
วันเสาร์
– อาทิตย์
|
|
แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ
๕ ปี
|
|
ระดับชั้นปี
|
จำนวนนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
|
๒๕๕๘
|
๒๕๕๙
|
๒๕๖๐
|
๒๕๖๑
|
๒๕๖๒
|
ชั้นปีที่ ๑
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
ชั้นปีที่ ๒
|
-
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
รวมจำนวนนักศึกษา
|
๓๕
|
๗๐
|
๗๐
|
๗๐
|
๗๐
|
จำนวนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
|
-
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
๓๕
|
|
อัตราค่าเล่าเรียน
|
ค่าลงทะเบียนการศึกษา
รวมทั้งสิ้น 168,000 บาท ชำระเป็นรายภาคการศึกษา
|